เกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติก

แอนตาร์กติกเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้า โดยมีขนาดใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียเกือบสองเท่า ประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในแอนตาร์กติกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งซึ่งมีความหนาเฉลี่ยอย่างน้อย 1.9 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ซึ่งครอบคลุมเกือบทุกส่วนของทวีปยกเว้นทางตอนเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก

โดยเฉลี่ยแล้ว แอนตาร์กติกเป็นทวีปที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด แห้งที่สุด และมีลมแรงที่สุด รวมทั้งมีระดับชั้นความสูงเฉลี่ยสูงสุดในบรรดาทวีปทั้งหมด อุณหภูมิในทวีปแอนตาร์กติกอาจต่ำได้ถึง -89 °C (-129 °F) ทวีปนี้ไม่มีมนุษย์อยู่อาศัยอย่างถาวร แต่ตลอดทั้งปีจะมีผู้อยู่อาศัยจำนวนประมาณ 1,000 ถึง 5,000 คนตามสถานีวิจัยต่างๆ ซึ่งกระจัดกระจายไปทั่วทวีป มีเพียงสัตว์บางชนิดเท่านั้นอยู่รอดในแอนตาร์กติกได้ เช่น เห็บ ไส้เดือนฝอย เพนกวิน แมวน้ำ และทาร์ดิเกรด (ตัวหมีน้ำ)

มีการลงนามในสนธิสัญญาแอนตาร์กติกโดย 12 ประเทศในปี 2502 ในปัจจุบันนี้มี 49 ประเทศที่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวซึ่งกำหนดให้ ห้ามไม่ให้มีกิจกรรมทางด้านทหาร การทำเหมืองแร่ การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ และการกำจัดขยะนิวเคลียร์ และให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อปกป้องเขตนิเวศ (ecozone) ของทวีปนี้เท่านั้น

ทวีปแอนตาร์กติกเป็นดินแดนที่มีความโหดร้ายและไร้ซึ่งความปราณี ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและที่ปลายด้านใต้สุดของโลกใบนี้มีสิ่งมีชีวิตน้อยมากที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูนย์องศา อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าแปลกใจที่เราพบว่ามีสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมของทวีปนี้ได้

หลังจากที่ถูกค้นพบในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 และต้นศตวรรษที่ 18 ยุคบุกเบิกเพื่อพิชิตทวีปแอนตาร์กติกก็เริ่มขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และปิดลงด้วยการเดินทางสำรวจ Imperial Trans-Antarctic ของ Ernest Shackleton ในปี 2450

ประวัติศาสตร์ของทวีปแอนตาร์กติกเริ่มขึ้นจากทฤษฎีของชาวตะวันตกเกี่ยวกับทวีปขนาดใหญ่ซึ่งเรียกกันในชื่อว่า Terra Australis ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ปลายด้านใต้สุดของโลก คำว่าแอนตาร์กติก (Antarctic) เป็นคำที่ตรงข้ามกับคำว่าอาร์กติกเซอร์เคิล (Arctic Circle) ซึ่งนักภูมิศาสตร์ชาวกรีก Marinus แห่งเมือง Tyre ได้บัญญัติขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 2

ได้มีความพยายามพิชิตขั้วโลกใต้หลายครั้งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคทองของการสำรวจแอนตาร์กติก

โดยผู้ที่สามารถพิชิตขั้วโลกใต้ได้เป็นคนแรกคือชาวนอร์เวย์ที่ชื่อ Roald Amundsen และเพื่อนของเขาในวันที่ 14 เดือนธันวาคม 2454 อย่างไรก็ดี Robert Falcon Scott และพวกอีก 4 คนซึ่งไม่ได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเดินทางในทางนั้น ได้เดินทางไปถึงขั้วโลกใต้ในวันที่ 17 มกราคม 2455 เพียง 34 วันหลังจากทีมของ Amundsen อย่างไรก็ดี ทุกคนในทีมสังเวยชีวิตในระหว่างการเดินทางกลับ

การเดินทางที่ประสบความสำเร็จในครั้งต่อไปเกิดขึ้นโดยชาวนิวซีแลนด์ที่ชื่อ Edmund Hillary (วันที่ 4 มกราคม 2502) และ Vivian Fuchs (วันที่ 19 มกราคม 2502) ร่วมกับทีมของทั้งคู่ ในระหว่างการเดินทางสำรวจ Commonwealth Trans-Antarctic

ข้อมูลอย่างย่อ

  • มีประเทศ 19 ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเดินทางไปยังขั้วโลกใต้ด้วยการเดินเท้า ได้แก่: ออสเตรเลีย, แคนาดา, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, เลบานอน, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, รัสเซีย, แอฟริกาใต้, เกาหลีใต้, สเปน, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
  • อุณหภูมิในช่วงเดือนธันวาคม - สูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ -26.5ºC / ต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ -29.3ºC
  • ไม่พบพืชหรือสัตว์ท้องถิ่นตามธรรมชาติในทวีปแอนตาร์กติก
  • มีความพยายามเดินทางไปยังขั้วโลกใต้โดยไม่มีความช่วยเหลือได้สำเร็จ 118 ครั้งจาก 123 ครั้ง
  • โดยความพยายาม 22 ครั้งในจำนวนดังกล่าวเป็นการเดินทางเพียงคนเดียว โดยครั้งสุดท้ายที่ทำได้นั้น สำเร็จในวันที่ 13 เดือนมกราคม 2558
  • มีผู้ที่สามารถพิชิตขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ได้สำเร็จโดยไม่มีความช่วยเหลือ 13 ครั้ง
  • การเดินทางไปยังขั้วโลกใต้โดยทางเท้าที่ใช้เวลาสั้นที่สุดคือ 23 วัน 5 ชั่วโมง

ความพยายามในการเดินทางไปพิชิตขั้วโลกใต้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

2549 - ชาวนอร์เวย์ที่ชื่อ Christian Eide ได้เดินทางโดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดโดยไม่มีความช่วยเหลือด้วยเวลา 24 วันจากจุดใกล้กับ ‘Hercules Inlet’
2555 - ชาวนอร์เวย์ที่ชื่อ Aleksander Gamme (เดินทางคนเดียว) และชาวออสเตรเลียสองคนคือ James Castrission และ Justin Jones ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการเดินทางไปและกลับโดยไม่มีการช่วยเหลือ
2556 - Maria Leijerstam ประสบความสำเร็จในการเดินทางโดยจักรยานสามล้อจากชายฝั่งไปยังขั้วโลกใต้
2557 - Daniel P. Burton ประสบความสำเร็จในการเดินทางโดยจักรยานจากชายฝั่งไปยังขั้วโลกใต้
2559 - ชาวอังกฤษที่ชื่อ Henry Worsley เสียชีวิตในระหว่างการเดินทางคนเดียวเป็นครั้งแรกด้วยระยะเวลา 70 วันโดยไม่มีความช่วยเหลือข้ามทวีปแอนตาร์กติก

วิดีโอ โครงการ
‘ทีเจ ทรูเซ้าท’
แกลลอรี่